วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบชุดที่ 5 ศิลปินแห่งชาติปี 2552

ข้อสอบชุดที่ 5 ศิลปินแห่งชาติปี 2552
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมคือ
ก. นายธีระ สลักเพชร

ข. นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
ค. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล

ง. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

2. บุคคลที่เป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติคือ
ก. รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ง. ปลัดกระทรวงวัฒนธนธรรม

3. การคัดเลือกศิลปินที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติมี 3 สาขาข้อใดไม่ใช่
ก. ภาพยนต์

ข. ทัศนศิลป์
ค. วรรณศิลป์

ง. สาขาศิลปะการแสดง

4. ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ด้านจิตรกรรม คือ
ก. ศ.ปรีชา เถาทอง
ข. นายองอาจ สาตรพันธุ์
ค. นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์
ง. นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร
5. ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย คือ
ก. ศ.ปรีชา เถาทอง
ข. นายองอาจ สาตรพันธุ์
ค. นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์
ง. นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร
6. ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านประณีตศิลป์- แกะสลักเครื่องสด คือ
ก. ศ.ปรีชา เถาทอง
ข. นายองอาจ สาตรพันธุ์
ค. นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์
ง. นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร
7. ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ด้านภาพถ่าย คือ
ก. ศ.ปรีชา เถาทอง
ข. นายองอาจ สาตรพันธุ์
ค. นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์
ง. นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร

8. ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์ คือ
ก. นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ข. นายจตุพร รัตนวราหะ
ค. นายอุทัย แก้วละเอียด

ง. นางมัณฑนา โมรากุล
จ. นายประยงค์ ชื่นเย็น
9. ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ด้านนาฏศิลป-โขน คือ
ก. นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ข. นายจตุพร รัตนวราหะ
ค. นายอุทัย แก้วละเอียด

ง. นางมัณฑนา โมรากุล
จ. นายประยงค์ ชื่นเย็น
10ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทย คือ
ก. นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ข. นายจตุพร รัตนวราหะ
ค. นายอุทัย แก้วละเอียด

ง. นางมัณฑนา โมรากุล
จ. นายประยงค์ ชื่นเย็น
11.ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทยสากล-คำร้อง คือ
ก. นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ข. นายจตุพร รัตนวราหะ
ค. นายอุทัย แก้วละเอียด

ง. นางมัณฑนา โมรากุล
จ. นายประยงค์ ชื่นเย็น
12. ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสานคือ
ก. นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ข. นายจตุพร รัตนวราหะ
ค. นายอุทัย แก้วละเอียด

ง. นางมัณฑนา โมรากุล
จ. นายประยงค์ ชื่นเย็น

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบพลวัต ชุดที่ 1 เรื่องวันครู
1. คำขวัญวันครู ปี พ.ศ. 2553
ก.กตัญญูกตเวที น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู
ข. น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที
ค. บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที น้อมจิตวันทา
ง. บูชาคุณครู น้อมจิตวันทา กตัญญูกตเวที

2. ผู้ชนะเลิศคำขวัญคือใคร
ก. นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ ข. นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร
ค. นายสำเริง กุจิรพันธ์ ง. นายวุฒิพงษ์ อินทิแสง

3. ผู้ชนะเลิศคำขวัญอยู่จังหวัดใด
ก. กรุงเทพมหานคร ข. ปราจีนบุรี
ค. ลำพูน ง. อุบลราชธานี

4. วันที่เปิดการค้าเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ในวันที่เท่าไร
ก. 1 มกราคม 2552 ข. 1 ธันวาคม 2552
ค. 1 มกราคม 2553 ง. 1 ธันวาคม 2553

5. การค้าเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ปกป้องพืชเศรษฐกิจที่ไทยปกป้องคืออะไรบ้าง
ก. ข้าวโพด ข้าว
ข. ข้าว ยางพารา
ค. ยางพารา มันสำปะหลัง ง. ข้าวโพด มันสำปะหลัง

6. โครงการของ ททท. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในปี 2553 คือ
ก. คึกคัก ครึกคื้น เที่ยวไทย เพื่อเศรษฐกิจไทย
ข. ครึกคื้น เศรษฐกิจไทย คึกคัก เที่ยวไทย
ค. เที่ยวไท ย คึกคัก เศรษฐกิจไทย ครึกคื้น
ง. เที่ยวไทย ครึกคื้น เศรษฐกิจไทย คึกคัก

7. คำขวัญวันเด็กปี 2553 ของนายกรัฐมนตรีคือ
ก. คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
ข. ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม คิดสร้างสรรค์
ค. เชิดชูคุณธรรม ขยันใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์
ง. ขยันใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ เชิดชูคุณธรรม

8. สารจากนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553
กล่าวถึงนโยบายอะไร
ก. นโยบาย 5 รั้วป้องกัน
ข. ห้องสมุด 3 ดี
ค. นโยบาย 3 D ง. SP 2

9. สารจากนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553
กล่าวถึงปรัชญาใด
ก. พุทธศาสนา ข. ขงจื้อ
ค. เศรษฐกิจพอเพียง ง. ความประหยัด

10.ในหลวงทรงพระราชทาน ส.ค.ส. เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2553 โดยฉลองพระองค์ด้วยแจ๊คเก็ตสีใด
ก สีชมพู ข สีน้ำเงิน ค สีเหลือง ง สีขาว

11.ใน ส.ค.ส.พระราชทาน ปี 2553 มีรูปใบหน้าคนยิ้มเป็นกรอบของ ส.ค.ส. นับรวมได้ทั้งหมดกี่หน้า
ก 2553 หน้า ข 2010 หน้า ค 418 หน้า ง 999 หน้า

12.ส.ค.ส. พระราชทาน ปี 2553 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ใด
ก โรงพิมพ์สุวรรณชาติ ข โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ
ค โรงพิมพ์สุวรรณชาด ง โรงพิมพ์สุวรรณพูม

14. ส.ค.ศ. พระราชทานปี 2553 สุนัขทรงเลี้ยงชื่ออะไร
ก. คุณทองแดงกับคุณทองหลาง ข. คุณทองม้วนกับคุณทองหลาง
ข. คุณนายแดงกับคุณทองแดง ง. คุณทองม้วนกับคุณทองแดง

15. เวลาที่ฉายพระรูปใน ส.ค.ศ. พระราชทานปี 2553 คือ
ก. 08.50 น ข. 09.30 น.
ค. 15.25 น ง. 16.30 น.

16.หน่วยงานใดต่อต้านการส่งคืนม้งลาวที่หลบหนีเข้ามาอาศัยในประเทศไทยให้กลับคืนสู่ประเทศ ลาว
ก สหรัฐอเมริกา ข UN
ค UNSCR
ง ทุกข้อที่กล่าวมา

17.บุคคลใดต่อไปนี้ได้รับฉายาจากสมาคมนักข่าวและกีฬาประจำปี 2552 ว่า “โป้ง(ป๊อก)ระอา”
ก นายวรวีร์ มะ(กระผม)ดี ข นายจักรกฤษณ์ พานิชผาติกรรม
ค นายรัฐภาคย์ วิไลโรจน์ ง นายศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ

18.เด็กไทยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดที่ คาร์เนกีฮออล์ เป็นการแข่งขันเกี่ยวกับข้อใด
ก ฟิสิกส์โอลิมปิค ข วงโยธวาทิตย์
ค เชียร์ลีดเดอร์ ง ดนตรีคลาสสิค

19. “เด้ง....จ่าเฉย....แก้ต่อมขี้เกียจไม่ถูกจุด..” จากหัวข้อข่าว จ่าเฉยคือใคร
ก ตำรวจ ข หุ่นตำรวจ
ค ทหาร ง หุ่นทหาร
20.บุคคลใดไม่เข้าพวก
ก ฮุนเซน ข ทักษิณ ชินวัตร
ค สมรังสี ง เสธ.แดง
21.ปี 2553 จะมีการสอบ N-NET ซึ่งจะเป็นการสอบที่วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนกลุ่มใด
ก กศน. ข ปวช.
ค เทคนิค ง อาชีวะ
22.หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาก่อนแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับผู้สอบผ่านภาค
ก,ข และ ค
ก สพท. ข สพฐ. ค สคบศ. ง สกสค.
23. ร้านใดที่จำหน่าย ส.ค.ส. ปี 2553 พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตน์ ราชสุดา สยามบรมราช
กุมารี
ก. ศูนย์ศิลปาชีพ ข. ร้านดอกหญ้า
ค. ศูนย์หนังสือจุฬา ง. ร้านภูฟ้า
24. ส.ค.ส.สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระอักษรเกี่ยวกับสัตว์อะไร
ก. เสือ ข. สุนัข
ค. หมี ง. ช้าง
25 ทรงพระราชทานข้อความว่าอย่างไร
ก. ส.ค.ศ. ปี 2553 ปีขาล ถึงปีขาลเสือตัวใหญ่ไม่ดุ
ข. มันกินจุทั้งข้าวปลามังสาหาร เกิดดินดำน้ำชุ่มชลประทาน
ค. ล้วนเบิกบานมีกินมีใช้ไปด้วยกัน ต้องทำงานเหน็ดเหนื่อยไม่ถอยหนี
ง. ก็จะมีโชคช่วยอำนวยขวัญ อย่ากลัแต่เสือนี้มันดีครัน ดีทุกวันทุกเดือนเหมือนคิดเอย
จ. ถูกทุกข้อ
26. สมเด็จพระเทพทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ อะไร
ก. เสือจับค้างคาว ข. เสือจับปลา
ค. เสือจับกวาง ง. เสือจับหมูป่า

27. ค้างคาวในภาษาจีนคือ
ก. ลก ข. ฮก ค. จ๊ก ง. ซิน
28 แปลว่า
ก. โชคดี มีวาสนา ข. ร่ำรวย เงินทอง
ค. มีลาภยศ สรรเสริญ ง. มีความอุตสหะ ขยันหมั่นเพียร
29. การ์ดใบนี้มีสีอะไรบ้าง
ก. สีชมพูอมเนื้อ ข. สีฟ้า
ค. สีแดง ง. ข้อ ก และ ข ถูก

ปีใหม่2553

-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. แก่ชาวไทย ว่าอย่างไรตอบ "มีปัญญารู้คิด ให้มีสติรู้ตัว ตระหนักถึงส่วนรวม เพื่อความสุขของชาติ"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ส.ค.ส.ปีใหม่ 2553 แก่ชาวไทยพร้อมพระราชทานพรปีใหม่ ทรงขอบใจประชาชนที่ห่วงใยในพระอาการประชวรและอวยพรให้ชาวไทยมีความสุขกายสุข ใจ ปราศจากทุกข์โรคภัย คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้องและตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสุขสวัสดีของชาติ ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวทั่วประเทศคึกคัก คนแห่เที่ยวทั้งเหนือใต้ออกตก ทึ่ง ส.ค.ส. ยาวที่สุดในโลก พัทยาการจราจรเป็นอัมพาต นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งเทศแห่ไปนับถอยหลังสู่ปี 2010 ต้องระดมกำลังตำรวจเป็นหมื่นคนคอยรักษาความปลอดภัย ส่วนงานเคาต์ดาวน์ที่เวิลด์เทรด คนแน่นขนัดตั้งแต่หัวค่ำรอส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นับเป็นสิริ มงคลแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ปี 2553 แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ทั้งนี้ ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช 2553 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ็กเกตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้ง 2 สุนัขที่มุมบน ด้านซ้ายมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎและตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า "ส.ค.ส.2553" ส่วนมุมบนด้านขวามีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010 ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27/15:25 กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพหน้าคนเล็กๆเรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ 2 แถว ด้านข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว นับรวมกันได้ 418 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม บนกรอบ ส.ค.ส.ด้านล่าง มีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisherโอกาสเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพรปีใหม่ 2553 แก่ปวงชนชาวไทย ความว่า ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆคน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดีความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติตัวปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้จึงขอให้ชาวไทยทุกคน ได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติปฏิบัติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือจะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญ จะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลักในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขความสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนาขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกายสุขใจและความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน -ปีใหม่ คืออะไรตอบ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ” ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติประวัติความเป็นมาวันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปีต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทินเมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทินและในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา -ปีใหม่ 2553 ตรงกับวันใดตอบ วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553

25 นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

-"วิทยา" ตัดสินใจไขก๊อก หมายถึงใคร
ตอบ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ตัดสินใจลาออกกรณีการทุจริตจัดซื้อตามโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข

-นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2553 มีว่าอย่างไร
ตอบ
๒๕ นโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓
รมว.ศธ.กล่าวว่า ในการประชุมสัมมนา ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แจ้งให้ประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ๔๑ ศูนย์ทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมพร้อมกันทุกครั้ง
 เน้นการทำงานแบบบูรณาการ
 ถัด จากนี้ไปงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในส่วนภูมิภาค จะเน้นการทำงานแบบบูรณาการ โดยถือกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) เป็นกรอบใหญ่ที่สุดในการทำงาน ถัดลงมาคือนโยบายของรัฐบาล นโยบายของ ศธ. โดยจะมีแผนการศึกษา ๓ ระดับ คือ แผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด และแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ที่ทุกท่านจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และเพื่อให้การกำกับติดตามแผน ให้เดินไปข้างหน้า ขอให้ ผอ.สพท.เขต ๑ ทั่วประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับแผนให้เดินไปข้างหน้า ทั้งการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเอกชน และอุดมศึกษา โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นศึกษาธิการจังหวัด หรือเป็นตัวแทนของ ศธ.ของทุกหน่วยงานในจังหวัด
เหตุ ที่มีความจำเป็นจะต้องรื้อฟื้นผู้รับผิดชอบการศึกษาในลักษณะคล้ายศึกษาธิการ จังหวัดขึ้นมานี้ เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัด มิฉะนั้นจะทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นลำบาก เพราะไม่ทราบว่าใครเป็นเบอร์ ๑ เบอร์ ๒ หรือรัฐมนตรีจะสั่งการแต่ละครั้งต้องสั่งทีละแท่ง ดังนั้นในอนาคตกระบวนการคัดกรอง ผอ.สพท.เขต ๑ จะต้องมีความเป็นพิเศษเพิ่มเติมด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เคยได้รับเรื่องร้องเรียนว่า ที่ผ่านมา ผอ.สพท.บางเขตพื้นที่การศึกษาไม่เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง แต่มอบเจ้าหน้าที่ไปเข้าร่วมประชุมแทน ดังนั้นจึงขอมอบเป็นนโยบายว่า ต่อไปนี้การประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัด ผอ.สพท.ต้องเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และทำงานในเชิงรุกมากขึ้นทุกเขตพื้นที่ และขณะนี้แผนจังหวัดได้รับการอนุมัติแล้ว ทั้งเป้าหมายร่วม ๗๐% และเป้าหมายเฉพาะจังหวัด ๓๐% ทุกคนต้องศึกษาตัวชี้วัดของเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และครบถ้วน เพื่อส่วนกลางจะได้ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์การศึกษาในจังหวัดได้
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ผู้ ตรวจราชการ ศธ.จะทำหน้าที่ ๒ ส่วน ทั้งในฐานะผู้ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และในฐานะผู้บริหารแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ซึ่งจะต้องรับผิดชอบผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มจังหวัดซึ่งมีตัวชี้วัดชัดเจน และเมื่อทำงานไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง หากมีความจำเป็นก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับความเป็นจริง มากขึ้น
 ปี ๒๕๕๓ เน้นผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
 ใน ปี ๒๕๕๓ จะเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้น ในส่วนของรัฐมนตรีจะให้ความสำคัญกับการตรวจราชการหรือติดตามนโยบายในทาง ปฏิบัติให้เกิดผลในแต่ละพื้นที่มากขึ้น และเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปแจ้งให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหาร สถานศึกษาในสังกัดได้รับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้สั่งการไปแล้วทุกนโยบาย เพราะถัดจากนี้ไปจะมีการติดตามความก้าวหน้าการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดที่ จะตามมา
 ใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น
รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า หากเขตพื้นที่การศึกษาใดบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือพบความไม่โปร่งใส ศธ.จะใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น
 นโยบาย ๒๕ เรื่องที่มอบไปแล้วต้องเดินหน้าทุกเรื่อง
 ใน ปี ๒๕๕๓ เป็นปีแห่งการเดินหน้าโครงการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติ ขอให้ความสำคัญกับทุกโครงการ ทั้งนโยบายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว นโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือนโยบายใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในปี ๒๕๕๓ ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงขอทบทวนให้ผู้บริหารได้รับทราบนโยบายต่างๆ ทั้ง ๒๕ เรื่อง ดังนี้
๑) การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ที่ถือเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ "๓ เสา ๓ ดี ๔ ใหม่" (๓ ดี/3D คือ Decency-Democracy-Drug-Free ส่วน ๔ ใหม่คือ สร้างคนไทยหรือผู้เรียนยุคใหม่-ครูยุคใหม่-ระบบบริหารจัดการแบบใหม่-แหล่ง เรียนรู้หรือสถานศึกษายุคใหม่)
๒) นโยบาย ๕ ฟรี คือเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ-ติวฟรี (Tutor Channel)-นมโรงเรียนฟรี-อาหารกลางวันฟรี-ผู้พิการเรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี
๓) การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้ให้ความสนใจเป็นพิเศษที่ ศธ.จะเน้นการให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้นมากกว่าการท่องจำ มีการปรับหลักสูตรใหม่ที่จะลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาบทเรียนที่มีมากถึง ๓๐% ลง เพื่อให้เด็กเรียนหลักวิชาเท่าเดิม ไม่ต้องเรียนซ้ำซ้อนหรือจมอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะนำเวลาไปเรียนกิจกรรมนอกห้องเรียนอื่นๆ เช่น ศิลปะ กีฬา มากขึ้น นอกจากนี้เพื่อให้เด็กที่จบออกไปมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ คุณลักษณะ ๓ ดี หรือการมีหัวใจทางศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่เด็กไทยยังขาดอยู่ให้มากยิ่งขึ้น โดย สพฐ. กำลังคิดเป็นข้อๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่จะปลูกฝังเด็กไทยที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ใน อนาคต สำหรับตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปีที่ในอดีตมีมากถึง ๓,๐๐๐ กว่าตัวนั้น ก็จะปรับลดเหลือเพียง ๒,๑๖๕ ตัวชี้วัด ซึ่งจะสะดวก ตรงเป้า จึงถือว่าเรื่องนี้เป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ
๔) โรงเรียนดี ๓ ระดับ คือ โรงเรียนดีระดับสากล ๕๐๐ โรง ระดับอำเภอ ๒,๕๐๐ โรง และระดับตำบล ๗,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ
๕) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล ปีนี้เริ่มแล้ว ๔,๐๐๐ โรง ส่วนปี ๒๕๕๓ จะขยายเพิ่มอีก ๕,๐๐๐ โรง จึงขอให้ติดตามตรวจสอบดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และจะถือโอกาสนี้ไปตรวจเยี่ยมด้วย เพราะหวังว่าผลสัมฤทธิ์เด็กจะดีขึ้นเมื่อดำเนินการโครงการนี้
๖) โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จะสร้างเรือนนอนให้โรงเรียนพื้นที่สูง หรือพื้นที่ที่เด็กต้องมาพักค้าง เพื่อสวัสดิภาพของเด็กที่อยู่ห่างไกลโรงเรียนสามารถมาพักค้างที่โรงเรียนได้
๗) โรงเรียนขนาดเล็ก ครม.ได้อนุมัติให้เพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้โรงเรียนขนาดเล็กไปแล้ว เพราะ สพฐ. ได้ทำการวิจัยแล้วพบว่า เงินอุดหนุนรายหัวมีนัยยะกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก โดยระดับประถมฯ จะได้รับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวจาก ๑,๙๐๐ บาท เป็น ๒,๔๐๐ บาทต่อคนต่อปี ระดับมัธยมฯ ตอนต้น จาก ๓,๕๐๐ บาท เป็น ๔,๕๐๐ บาท และมัธยมฯ ตอนปลาย จาก ๓,๘๐๐ บาท เป็น ๔,๘๐๐ บาท
๘) ห้องสมุด ๓ ดี คือ หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี โดยห้องสมุด ๓ ดีจะเน้นซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ มีการกำหนดเกณฑ์การจัดซื้อหนังสือ ราคาหน้าปกที่จัดซื้อกับความเป็นจริง และหนังสือดีที่ควรจัดซื้อเข้าห้องสมุด โดยเฉพาะหนังสือดีเด่น ๖ เล่มที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ตามที่สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อ คือ พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
๙) ห้องเรียนวิทยาศาสตร์อัจฉริยะทวิภาคี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ.กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขณะนี้มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ประมาณ ๑๐๐ ห้อง แต่ตนให้เพิ่มอีก ๑๐๐ ห้อง เป็น ๒๐๗ ห้องเรียน โดยขอให้เขตพื้นที่การศึกษาติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
๑๐) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (Thai Qualification Framework : TQF) ซึ่ง ได้ลงนามประกาศไปแล้วว่า ต่อไปนี้หากสถาบันอุดมศึกษาจะเปิดสอนสาขาวิชาใด จะต้องผ่านกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยสถาบันอุดมศึกษาจะต้องจัดทำตามกรอบนี้ให้เสร็จภายใน ๓ ปี ซึ่ง ผอ.สพท.เขต ๑ อยู่ในฐานะที่จะต้องประสานกับทุกหน่วยงานของ ศธ. รวมทั้งเรื่องนี้ด้วย
 ๑๑) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา (TQF) ที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน และเป็นตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม คือ คุณภาพการผลิตนักศึกษาให้ได้ตามกรอบนี้
๑๒) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQ) ใน ปี ๒๕๕๓ จะมีผลบังคับใช้ให้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพเกิดขึ้นคู่กับมาตรฐานคุณวุฒิ วิชาการ ซึ่งการกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพปัจจุบันแต่ละสาขาจะระบุว่าจะได้มาซึ่งมาตรฐาน อย่างไร ปัจจุบันมีเฉพาะคุณวุฒิวิชาการ คือ ป.๖ ม.๓ ม.๖ ปวช. ปวส. และปริญญา แต่คุณวุฒิวิชาชีพยังไม่มี ต่อไปในอนาคต เมื่อเอกชนยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพมากขึ้น จะนำไปสู่การพัฒนาในลักษณะการจ่ายค่าตอบแทน เช่น การรับคนเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความสามารถ ซึ่งจะมีประโยชน์อีกหลายด้าน โดยเฉพาะในบางสาขาวิชาที่มีคนเก่งระดับโลก คือ เจียระไนเพชร พลอย เมื่อคนเหล่านี้ซึ่งจบการศึกษาภาคบังคับไปเทียบคุณวุฒิวิชาการกับแรงงานต่าง ประเทศ ก็จะได้เพียงคุณวุฒิวิชาการระดับ ม.๓ เท่านั้น แต่เมื่อเทียบคุณวุฒิวิชาชีพ อาจจะอยู่ในระดับ ๖ คือระดับปริญญาโท ในขณะที่บางคนอาจเทียบเท่าระดับ ๗ คือ ปริญญาเอก ซึ่งจะช่วยให้คนนั้นได้รับการยอมรับจากมาตรฐานโลกด้วย กล่าวโดยสรุปคือ เป็นการตรวจสมรรถนะจากการทำงานจริงว่ามีคุณภาพหรือไม่
๑๓) การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ใน ปี ๒๕๕๓ จะมีการจัดรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ๑๙ แห่ง เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีเฉพาะในสถาบันที่มีความพร้อม โดยเน้นปฏิบัติ ๗๐-๗๕% ต่างไปจากมหาวิทยาลัยที่เน้นวิชาการมากถึง ๗๐-๗๕%
๑๔) V-Net คือข้อสอบของอาชีวศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งจะเริ่มในปี ๒๕๕๓
๑๕) UniNet หรือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นโครงการ ๓ ปี (๒๕๕๓–๒๕๕๕) ใช้ระบบใยแก้วนำแสงไปยังมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน สถาบันการอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่ง และเขตพื้นที่การศึกษา ๑๘๕ แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งโรงเรียนดีระดับอำเภอและระดับตำบลอีก ๓,๐๐๐ โรง
๑๖) Education Hub หรือ การเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค ซึ่งมีหลายเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตเป้าหมาย เรามีงบประมาณ ๑๔ โรงที่ได้รับเพื่อไปพัฒนาหอพักให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาพัก ดังนั้นหลักของการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคคือ ต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในไทยมากขึ้น จากปัจจุบันมี ๓๐,๐๐๐ คน แต่ภายใน ๕ ปีตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน โดยเฉพาะในจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งจะเป็นจุดรับนักศึกษาจากลาว กัมพูชา จีน หรือเวียดนามมากขึ้น ข้อดีของการเป็น Education Hub คือจะช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเราอย่างประมูลค่าไม่ได้ในอนาคต
๑๗) การอบรมพัฒนาครูทั้งระบบ ๕๒๐,๐๐๐ คน ทั้ง ครู สพฐ.และอาชีวศึกษา โดยผู้บริหาร-รองผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจะได้รับการ พัฒนาให้เสร็จสิ้นครบถ้วนทั้งหมดภายในปี ๒๕๕๓ ส่วนครูจะได้รับการอบรมพัฒนาให้ครบภายใน ๓ ปี การอบรมพัฒนาจะเน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง สพฐ.-สสวท.-เครือข่ายมหาวิทยาลัย ในการจัดทำหลักสูตร โดยใช้ระบบ e-Training เข้ามาช่วย
๑๘) ครูพันธุ์ใหม่ จะผลิตโครงการครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ คนภายในระยะเวลา ๕ ปี เพื่อทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการ ส่วนอีก ๗๐% จะใช้อัตราการบรรจุปกติ
๑๙) การปรับระบบการพัฒนาบุคลากรและระบบการเข้าสู่ตำแหน่งของ ศธ. เป็นเรื่องใหญ่และเกี่ยวพันกับเขตพื้นที่การศึกษา ต่อไปนี้กระบวนการอบรมพัฒนาจะมีองค์กรอบรมพัฒนาเป็นที่ยอมรับเกิดขึ้นใน กระทรวง และมีหลักสูตรการอบรมพัฒนาที่หลากหลายอย่างน้อย ๕ ส่วน คือ -หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารการศึกษาระดับสูงของ ศธ. -กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งครูทดลองงาน ๒ ปี -หลักสูตรการเลื่อนวิทยฐานะ -หลักสูตรการต่อใบอนุญาตวิชาชีพ -หลักสูตรการอบรมพัฒนาตามนโยบาย โดยหน่วยงานปฏิบัติการจะใช้ สคบศ.เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองในการก่อสร้างใหม่ แต่ สคบศ.จะต้องได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ให้เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับใน ระดับประเทศอย่างแท้จริง และจะมีนักวิชาการที่เชื่อถือได้มาบริหารหลักสูตร เพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ ในอนาคตมีศักยภาพ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ชัดเจนขึ้น
๒๐) การส่งเสริมการอ่าน ครม.ได้กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันรักการอ่าน และให้ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่ง ผอ.สพท.ต้องศึกษาและดำเนินการตาม ๓ แผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการอ่าน คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถด้านการอ่าน การสร้างนิสัยรักการอ่าน และการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
๒๑) กศน.ตำบล ขณะนี้ได้ยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็น กศน.ตำบล โดยต่อไปนี้ กศน.ตำบลจะมีคอมพิวเตอร์ ๖ ชุดให้บริการในการศึกษาเรียนรู้แก่ประชาชนในตำบล และจะเป็นทัพหน้าของ ศธ.ในระดับตำบล เพื่อผลักดันการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควบคู่ไปกับโรงเรียนดีประจำตำบล เพราะฉะนั้นใน ๑ ตำบลจะมีองค์กรเรียนรู้ตลอดชีวิตครบถ้วนทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ
๒๒) ห้องสมุด ๓ ดีสัญจร จะมีการจัดหารถ Mobile ไป จอดในหมู่บ้านชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการอ่าน ส่วนในบางพื้นที่อาจจำเป็นต้องใช้เรือแทนรถยนต์ โดยในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ จะเปิดโครงการเรือห้องสมุด ๓ ดีสัญจร เพื่อให้เห็นกระบวนการต่างๆ ในการส่งเสริมการอ่านอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
๒๓) การปรับสัดส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียน จากเดิมที่มีอัตราส่วนคอมพิวเตอร์ ๑ เครื่อง ต่อนักเรียน ๔๐ คน แต่ในปี ๒๕๕๓ จะปรับลดให้เหลืออัตราส่วน ๑:๑๐ และขอให้เขตพื้นที่การศึกษาดูแลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาให้เป็นไป ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส ได้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการดูแลบริการหลังการขายที่ดีด้วย
๒๔) งาน ก.ค.ศ. ต่อ ไปนี้ระบบงานของ ก.ค.ศ.หรือคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะรวดเร็วและทำงาน เชิงรุกมากขึ้น กฎระเบียบใดที่ล้าหลังจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ต่อไปนี้งานของ ก.ค.ศ.เป็นงานบริหารงานบุคคลของ สพฐ.เป็นหลัก เพราะในระดับอาชีวศึกษามีระบบบริหารงานบุคคลเอง การทำงานเชิงรุกของ ก.ค.ศ. เพื่อไม่ให้งานเรื่องวินัยใช้เวลานานเกินไป เพราะอาจทำให้คนดีๆ หมดกำลังใจ ดังนั้นจึงต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เพื่อคนไม่ดีจะได้ไม่ลอยนวล ทั้งยังส่งเสริมให้คนดีมีกำลังใจทำงานมากขึ้น
๒๕) การพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาเป็นการ เฉพาะ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยมีนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อให้การทำงานขององค์กรหลักเดินหน้าร่วมกันอย่างมีเอกภาพและมี ประสิทธิภาพ ทั้งด้านบริหารการจัดการ การบริหารส่วนบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารส่วนวิชาการ
รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ในปี ๒๕๕๓ จะเน้นการตรวจราชการในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น จึงขอฝากทั้ง ๒๕ โครงการดังกล่าวให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาช่วยกันทำงานให้มี ประสิทธิภาพ ประสบผลสำเร็จเหมือนโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ที่ได้รับการสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศให้เป็นผลงานยอดเยี่ยมของรัฐบาล และเป็นผลงานที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในรอบ ๑ ปี ซึ่งต้องขอขอบคุณ ผอ.สพท. ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันดำเนินการโครงการดังกล่าวจนประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เป็นผลงานของคนใดคนหนึ่ง.

-ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. คือใคร
ตอบ รศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ

-ประธานคัดเลือกผู้แทน ก.ค.ศ. ในแต่ละ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่คือใคร
ตอบ ปลัดกระทรวง.ศธ. (เฉลียว อยู่เสมารักษ์)

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ตึกดูใบเบร์จดูใบ

บูร์จดูไบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
เว็บย่อ: th.wikipedia.org/wiki/Burj Dubaiบูร์จดูไบ
برج دبي

บูร์จดูไบกำลังก่อสร้างเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2552


ก่อนหน้านี้ ไทเป 101
ข้อมูล
สถานะ กำลังก่อสร้าง
เริ่มก่อสร้าง 21 กันยายน พ.ศ. 2547
คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2552
เปิดตัว 4 มกราคม พ.ศ. 2553[1]
การใช้งาน หลากหลาย
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด 818 เมตร (2,684 ฟุต)[2]
รายละเอียด
จำนวนชั้น 160 ชั้น
พื้นที่ชั้น 334,000 ตร.ม.
(3,595,100 ตร.ฟุต)
บริษัท
สถาปนิก สกิดมอร์ โอววิงส์แอนด์เมอร์ริลล์ (SOM)
วิศวกร บิลล์ เบเคอร์ ของ SOM[3]
นายจ้าง เทอร์เนอร์
ซัมซุง
เบสิกซ์
อาหรับเทก
โกรคอน[4]
บอว์เรอร์เอจี[4]
มูลนิธิมิดเดิลอีสท์[4]
โอทิส[4]
เลร์ช เบทส์[4]
ชมิดลิน[4]
อัล นาบูดาห์[4]
เลียง โอรัวร์เก[4]
ผู้พัฒนา เอมาร์
บูร์จดูไบ (อาหรับ: برج دبي‎; อังกฤษ: Burj Dubai - หอคอยดูไบ) เป็นตึกระฟ้าสูงยวดยิ่ง ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเปิดให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาขนาดยักษ์มีที่ตั้ง ณ "ชุมทางเชื่อมต่างระดับที่ 1" ของถนนชิค ซาเยดและถนนโดฮา

ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551 ตัวอาคารได้ก่อสร้างขึ้นสูงถึง 629 เมตร ด้วยการแซงหน้า เสา KVLY-TV ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาซึ่งสูง 628.8 เมตร กลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแล้ว และในปัจจุบันสูงกว่า 800 เมตร[5]

บูร์จดูไบออกแบบโดยสถาปนิก เอเดรียน สมิธ สถาปนิกจากชิคาโก จากสำนักงานสถาปนิก เอสโอเอ็ม (SOM - สคิดมอร์ โอวิงส์ แอนด์ เมอร์ริลล์) โดยมีจอร์จ เอฟสตาทิวแห่งเอสโอเอ็มเป็นผู้บริหารโครงการ เอเดรียน สมิทที่เคยอยู่กับเอสโอเอ็มมาก่อนเป็นผู้ร่วมออกแบบ วิศวกรโครงสร้างของตึกคือบิลล์ เบเกอร์[6] โดยมีบริษัทออกแบบภายนอกชื่อ ซีบีเอ็ม เอนจิเนียร์ได้รับการว่าจ้างเป็นผู้กำกับดูแล (Third Party Peer Review) โดยมีความสูงประมาณ 818 เมตร และเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ตัวตึกได้ทำสถิติกลายมาเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกมีความสูงถึง 546 เมตร แซงตึกไทเป 101 เรียบร้อย (สูงกว่าตึกไทเป 101 ประมาณ 97 เมตร และสูงกว่าอาคารใบหยก 2 218 เมตร)

ในดูไบยังมีโครงการก่อสร้างตึกในชื่อว่า อัลบูร์จ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบและวางแผน โดยความสูงยังคงถูกเก็บเป็นความลับเช่นกัน โดยประมาณการว่าอาจจะสูงอย่างน้อย 800 เมตร

เนื้อหา [ซ่อน]
1 การออกแบบ
2 ความสูง
3 สถิติที่บูร์จ ดูไบครองอยู่ในปัจจุบัน
4 ศูนย์กลางดูไบ
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] การออกแบบ
บูร์จดูไบออกแบบโดย เอสโอเอ็ม ผู้ออกแบบเดียวกันกับ เซียร์ทาวเวอร์ อาคารที่สูงที่สุดในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน และ ฟรีดอมทาวเวอร์ ที่กำลังจะก่อสร้าง โดยสถาปัตยกรรมในส่วนหนึ่งเป็นการผสมผสานกับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิสลาม และในอีกส่วนหนึ่งมีความใกล้เคียงกับงานออกแบบของตึก ดิอิลลินอยส์ ของ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน

การตกแต่งภายในจะตกแต่งโดย จอร์โจ อาร์มานี โดยเป็นโรงแรมอาร์มานีสำหรับ 37 ชั้นล่าง โดยชั้น 45 ถึง 108 จะเป็น อพาร์ตเมนต์ โดยที่เหลือจะเป็นสำนักงาน และชั้นที่ 123 และ 124 จะเป็นจุดชมวิวของตึก ส่วนบนของตึกจะเป็นเสาอากาศสื่อสาร นอกจากนี้ชั้น 78 จะมีสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดใหญ่

ตึกนี้จะติดตั้งลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลก ที่ความเร็ว 18 ม/วินาที (65 ก.ม./ชม., 40 ไมล์/ชม.) โดยลิฟต์ที่มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ ไทเป 101 ที่ความเร็ว 16.83 ม/วินาที

[แก้] ความสูง

ข้อสอบพลวัต 4 มกราคม 2553

ข้อสอบพลวัต ชุดที่ 1 เรื่องวันครูและส.ค.ส. พระราชทาน
1. คำขวัญวันครู ปี พ.ศ. 2553
ก.กตัญญูกตเวที น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู
ข. น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที
ค. บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที น้อมจิตวันทา
ง. บูชาคุณครู น้อมจิตวันทา กตัญญูกตเวที
2. ผู้ชนะเลิศคำขวัญคือใคร
ก. นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ ข. นายปฐมฤกษ์ มณีเนตร
ค. นายสำเริง กุจิรพันธ์ ง. นายวุฒิพงษ์ อินทิแสง
3. ผู้ชนะเลิศคำขวัญอยู่จังหวัดใด
ก. กรุงเทพมหานคร ข. ปราจีนบุรี
ค. ลำพูน ง. อุบลราชธานี
4. วันที่เปิดการค้าเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ในวันที่เท่าไร
ก. 1 มกราคม 2552 ข. 1 ธันวาคม 2552
ค. 1 มกราคม 2553 ง. 1 ธันวาคม 2553
5. การค้าเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ปกป้องพืชเศรษฐกิจที่ไทยปกป้องคืออะไรบ้าง
ก. ข้าวโพด ข้าว ข. ข้าว ยางพารา
ค. ยางพารา มันสำปะหลัง ง. ข้าวโพด มันสำปะหลัง
6. โครงการของ ททท. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในปี 2553 คือ
ก. คึกคัก ครึกคื้น เที่ยวไทย เพื่อเศรษฐกิจไทย
ข. ครึกคื้น เศรษฐกิจไทย คึกคัก เที่ยวไทย
ค. เที่ยวไทย คึกคัก เศรษฐกิจไทย ครึกคื้น
ง. เที่ยวไทย ครึกคื้น เศรษฐกิจไทย คึกคัก
7. คำขวัญวันเด็กปี 2553 ของนายกรัฐมนตรีคือ
ก. คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
ข. ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม คิดสร้างสรรค์
ค. เชิดชูคุณธรรม ขยันใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์
ง. ขยันใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ เชิดชูคุณธรรม
8. สารจากนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553
กล่าวถึงนโยบายอะไร
ก. นโยบาย 5 รั้วป้องกัน ข. ห้องสมุด 3 ดี
ค. นโยบาย 3 D ง. SP 2
9. สารจากนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553
กล่าวถึงปรัชญาใด
ก. พุทธศาสนา ข. ขงจื้อ
ค. เศรษฐกิจพอเพียง ง. ความประหยัด
10.ในหลวงทรงพระราชทาน ส.ค.ส. เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2553 โดยฉลองพระองค์ด้วยแจ๊คเก็ตสีใด
ก สีชมพู ข สีน้ำเงิน ค สีเหลือง ง สีขาว
11.ใน ส.ค.ส.พระราชทาน ปี 2553 มีรูปใบหน้าคนยิ้มเป็นกรอบของ ส.ค.ส. นับรวมได้ทั้งหมดกี่หน้า
ก 2553 หน้า ข 2010 หน้า ค 418 หน้า ง 999 หน้า
12.ส.ค.ส. พระราชทาน ปี 2553 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ใด
ก โรงพิมพ์สุวรรณชาติ ข โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ
ค โรงพิมพ์สุวรรณชาด ง โรงพิมพ์สุวรรณพูม
14. ส.ค.ศ. พระราชทานปี 2553 สุนัขทรงเลี้ยงชื่ออะไร
ก. คุณทองแดงกับคุณทองหลาง ข. คุณทองม้วนกับคุณทองหลาง
ข. คุณนายแดงกับคุณทองแดง ง. คุณทองม้วนกับคุณทองแดง
15. เวลาที่ทรงฉายพระรูปใน ส.ค.ศ. พระราชทานปี 2553 คือ
ก. 08.50 น ข. 09.30 น.
ค. 15.25 น ง. 16.30 น.
16.หน่วยงานใดต่อต้านการส่งคืนม้งลาวที่หลบหนีเข้ามาอาศัยในประเทศไทยให้กลับคืนสู่ประเทศ ลาว
ก สหรัฐอเมริกา ข UN
ค UNSCR ง ทุกข้อที่กล่าวมา
17.บุคคลใดต่อไปนี้ได้รับฉายาจากสมาคมนักข่าวและกีฬาประจำปี 2552 ว่า “โป้ง(ป๊อก)ระอา”
ก นายวรวีร์ มะ(กระผม)ดี ข นายจักรกฤษณ์ พานิชผาติกรรม
ค นายรัฐภาคย์ วิไลโรจน์ ง นายศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ


18.เด็กไทยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดที่ คาร์เนกีฮออล์ เป็นการแข่งขันเกี่ยวกับข้อใด
ก ฟิสิกส์โอลิมปิค ข วงโยธวาทิตย์
ค เชียร์ลีดเดอร์ ง ดนตรีคลาสสิค
19. “เด้ง....จ่าเฉย....แก้ต่อมขี้เกียจไม่ถูกจุด..” จากหัวข้อข่าว จ่าเฉยคือใคร
ก ตำรวจ ข หุ่นตำรวจ
ค ทหาร ง หุ่นทหาร
20.บุคคลใดไม่เข้าพวก
ก ฮุนเซน ข ทักษิณ ชินวัตร
ค สมรังสี ง เสธ.แดง
21.ปี 2553 จะมีการสอบ N-NET ซึ่งจะเป็นการสอบที่วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนกลุ่มใด
ก กศน. ข ปวช.
ค เทคนิค ง อาชีวะ
22.หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาก่อนแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับผู้สอบผ่านภาค
ก,ข และ ค
ก สพท. ข สพฐ. ค สคบศ. ง สกสค.
23. ร้านใดที่จำหน่าย ส.ค.ส. ปี 2553 พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตน์ ราชสุดา สยามบรมราช
กุมารี
ก. ศูนย์ศิลปาชีพ ข. ร้านดอกหญ้า
ค. ศูนย์หนังสือจุฬา ง. ร้านภูฟ้า
24. ส.ค.ส.สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระอักษรเกี่ยวกับสัตว์อะไร
ก. เสือ ข. สุนัข
ค. หมี ง. ช้าง
25 ทรงพระราชทานข้อความว่าอย่างไร
ก. ส.ค.ศ. ปี 2553 ปีขาล ถึงปีขาลเสือตัวใหญ่ไม่ดุ
ข. มันกินจุทั้งข้าวปลามังสาหาร เกิดดินดำน้ำชุ่มชลประทาน
ค. ล้วนเบิกบานมีกินมีใช้ไปด้วยกัน ต้องทำงานเหน็ดเหนื่อยไม่ถอยหนี
ง. ก็จะมีโชคช่วยอำนวยขวัญ อย่ากลัแต่เสือนี้มันดีครัน ดีทุกวันทุกเดือนเหมือนคิดเอย
จ. ถูกทุกข้อ
26. สมเด็จพระเทพทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ อะไร
ก. เสือจับค้างคาว ข. เสือจับปลา
ค. เสือจับกวาง ง. เสือจับหมูป่า

27. ค้างคาวในภาษาจีนคือ
ก. ลก ข. ฮก ค. จ๊ก ง. ซิน
28 แปลว่า
ก. โชคดี มีวาสนา ข. ร่ำรวย เงินทอง
ค. มีลาภยศ สรรเสริญ ง. มีความอุตสหะ ขยันหมั่นเพียร
29. การ์ดใบนี้มีสีอะไรบ้าง
ก. สีชมพูอมเนื้อ ข. สีฟ้า
ค. สีแดง ง. ข้อ ก และ ข ถูก

เฉลย คือ
1. คำขวัญวันครู ปี พ.ศ. 2553
ข. น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที
2. ผู้ชนะเลิศคำขวัญคือใคร
ก. นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์
3. ผู้ชนะเลิศคำขวัญอยู่จังหวัดใด
ค. ลำพูน
4. วันที่เปิดการค้าเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ในวันที่เท่าไร
ค. 1 มกราคม 2553
5. การค้าเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ปกป้องพืชเศรษฐกิจที่ไทยปกป้องคืออะไรบ้าง
ข. ข้าว ยางพารา
6. โครงการของ ททท. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในปี 2553 คือ
ง. เที่ยวไทย ครึกคื้น เศรษฐกิจไทย คึกคัก
7. คำขวัญวันเด็กปี 2553 ของนายกรัฐมนตรีคือ
ก. คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
8. สารจากนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553
กล่าวถึงนโยบายอะไร
ข. ห้องสมุด 3 ดี
9. สารจากนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2553
กล่าวถึงปรัชญาใด
ค. เศรษฐกิจพอเพียง
10.ในหลวงทรงพระราชทาน ส.ค.ส. เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2553 โดยฉลองพระองค์ด้วยแจ๊คเก็ตสีใด
ก สีชมพู
11.ใน ส.ค.ส.พระราชทาน ปี 2553 มีรูปใบหน้าคนยิ้มเป็นกรอบของ ส.ค.ส. นับรวมได้ทั้งหมดกี่หน้า
ค 418 หน้า
12.ส.ค.ส. พระราชทาน ปี 2553 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ใด
ค โรงพิมพ์สุวรรณชาด
14. ส.ค.ศ. พระราชทานปี 2553 สุนัขทรงเลี้ยงชื่ออะไร
ก. คุณทองแดงกับคุณทองหลาง
15. เวลาที่ทรงฉายพระรูปใน ส.ค.ศ. พระราชทานปี 2553 คือ
ค. 15.25 น
16.หน่วยงานใดต่อต้านการส่งคืนม้งลาวที่หลบหนีเข้ามาอาศัยในประเทศไทยให้กลับคืนสู่ประเทศ ลาว
ง ทุกข้อที่กล่าวมา
17.บุคคลใดต่อไปนี้ได้รับฉายาจากสมาคมนักข่าวและกีฬาประจำปี 2552 ว่า “โป้ง(ป๊อก)ระอา”
ข นายจักรกฤษณ์ พานิชผาติกรรม
18.เด็กไทยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดที่ คาร์เนกีฮออล์ เป็นการแข่งขันเกี่ยวกับข้อใด
ง ดนตรีคลาสสิค
19. “เด้ง....จ่าเฉย....แก้ต่อมขี้เกียจไม่ถูกจุด..” จากหัวข้อข่าว จ่าเฉยคือใคร
ข หุ่นตำรวจ
20.บุคคลใดไม่เข้าพวก
ค สมรังสี
21.ปี 2553 จะมีการสอบ N-NET ซึ่งจะเป็นการสอบที่วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนกลุ่มใด
ก กศน.
22.หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาก่อนแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับผู้สอบผ่านภาค
ก,ข และ ค
ค สคบศ.
23. ร้านใดที่จำหน่าย ส.ค.ส. ปี 2553 พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตน์ ราชสุดา สยามบรมราช
กุมารี
ง. ร้านภูฟ้า
24. ส.ค.ส.สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระอักษรเกี่ยวกับสัตว์อะไร
ก. เสือ
25 ทรงพระราชทานข้อความว่าอย่างไร
จ. ถูกทุกข้อ
26. สมเด็จพระเทพทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ อะไร
ก. เสือจับค้างคาว
27. ค้างคาวในภาษาจีนคือ
ข. ฮก
28 แปลว่า
ก. โชคดี มีวาสนา
29. การ์ดใบนี้มีสีอะไรบ้าง
ง. ข้อ ก และ ข ถูก

แนวทางการบริหารงานบุคคล

แนวทางการบริหารงานบุคคล
การประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
ครั้งที่ 6/2552
ระหว่างวันที่ 28 – 29 ธันวาคม 2552
ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ มหานาค กทม.

นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการ กพฐ.
การบริหารงานบุคคลในช่วงที่ผ่านมาและต้องดำเนินการ คือ เรื่องเกี่ยวกับองค์คณะ อกคศ. และเรื่องอื่น ๆ ที่จะแจ้งเพื่อทราบคร่าว ๆ ดังนี้
การรายงานโครงการ SP2

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้รายงานทุกวันที่ 20 ของเดือนเกี่ยวกับโครงการ SP2 ตามแบบฟอร์มที่จัดให้

2. โครงการคืนครูให้กับนักเรียน มีปัญหาเพียง 8 เขต เป็นเรื่องงบประมาณที่จัดไปมีขาดเกินบ้าง ขอให้ช่วยกันแก้ปัญหาไปก่อน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำเรื่องขอปรับงบประมาณไปแล้ว

3. การใช้ตำแหน่งว่าง ครู early retire ให้คำนึงถึงเม็ดเงินด้วย ต้องระวัง จะไม่มีเงินจ่ายภายหลัง คำนวณให้ดีด้วย แต่หากใช้ย้ายในเขตไม่เป็นไร แต่ถ้าย้ายข้ามเขตต้องแจ้งต้นสังกัดด้วยเพื่อทราบเม็ดเงินและใช้ได้ถูกต้อง หากผิดพลาดก็ต้องรับผิดชอบ

4. วินัยแพ่งและอาญา ถ้าเป็นวินัยของผู้บริหาร/บุคลากรในบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่เขตต้องดูอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องจะเกิดการฟ้องร้อง และผลเสียเกิดที่ผู้สั่ง จึงต้องศึกษาวินัยร้ายแรง ไม่ร้ายแรง มีขั้นตอนต้องทำตาม อย่าข้ามขั้นตอน เช่น สืบส่วนก่อนสอบสวน และดูให้ครอบคลุม ให้ผู้ถูกล่าวหาได้ชี้แจงเต็มที่ก่อน เมื่อพิจารณาแล้ว ดูระดับโทษตามที่ กคศ.กำหนด และพิจารณาระดับโทษให้ถูก มิฉะนั้นถ้าพิจารณาผิดบ่อยจะเป็นจุดอ่อน หรือถูกมองว่าไม่มีศักยภาพพอ เพราะเมื่อรายงานวินัยไม่ร้ายแรงมาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งปรับแก้ไขได้ แต่ระดับโทษเป็นเรื่องสำคัญ สั่งแล้วก็ต้องเสนอ กคศ. เมื่อ กคศ.พิจารณาแล้วแก้ไขจะยุ่งยากมาก ต้องไปดำเนินการใหม่ ทางแพ่ง ต้องดูว่าทรัพย์สินราชการเสียหายไม่ได้ ถ้าเสียหายต้องมีการชดใช้หรือทดแทนให้คุ้มกับที่เสียหายไปแต่น้อยกว่าไม่ได้ เราอาจถูกเรียกภายหลัง และขอให้ดูว่าถ้าเป็นข้าราชการปฏิบัติโดยไม่เจตนาหรือประมาท ก็ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนก่อนตาม พ.ร.บ.การละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ถ้าจงใจทำก็ไปไล่เบี้ยภายหลัง ส่วนเจ้าหน้าที่การเงิน ต้องดูด้วยว่าเงินขาดบัญชีเพราะอะไร ต้องรับผิดชอบด้วย จึงต้องวางระบบการจ่ายเงินให้ดี มีข้อควรระวังมาก เพราะมีระเบียบอยู่ อย่าไว้ใจเจ้าหน้าที่การเงินมากนัก เพราะอาจมีกลเม็ดในการเบิกเงินธนาคารมาเข้าบัญชีคนอื่น เรื่องอาญา โดยเฉพาะมาตรา 157 เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ต้องระวัง ต้องปฏิบัติให้ถูกโดยดูกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และทำความเข้าใจให้ชัด อย่าใช้ความรู้สึก บางเรื่องมีขั้นตอนวิธีปฏิบัติก็ต้องทำตามขั้นตอน เป็นเรื่องที่ถูกฟ้องร้องง่ายมาก โดยเฉพาะศาลปกครองเป็นฐานไปฟ้องศาลอาญาต่อ โดยเฉพาะการบริหารบุคคล มีหลักในการตัดสินใจที่ไม่ใช้ความรู้สึก เช่น การย้ายผู้บริหารต้องขอความเห็นกรรมการสถานศึกษาประกอบการพิจารณาก่อน ก็ต้องขอความเห็น แม้จะไม่ต้องการก็ต้องทำเพราะเรากำหนดไว้ แต่บางเรื่องเข้าหลักเกณฑ์ก็ต้องดูเหตุผลในการพิจารณาว่าคืออะไร ไม่ใช้คำว่า เหมาะสมอย่างเดียว แต่ต้องอธิบายว่าเหมาะอย่างไร หรือเพื่อประโยชน์ราชการอะไร ต้องมีปรากฏอยู่

5. การพัฒนาครู โอนเงินไปให้บางเขตแล้วอย่าเพิ่งใช้ นอกจากการมาอบรมที่รัฐสภา เพราะโครงการใหญ่ยังไม่ได้กำหนดทิศทางปฏิบัติ ใช้ได้เมื่อไร อย่างไร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะแจ้งภายหลัง

6. อกคศ. ฝากดูเรื่องการเลือกผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ ทำให้ดี เพราะมีเรื่องร้องเรียนอยู่ อาจต้องรับรองก่อนแล้วค่อยดำเนินการภายหลัง วันนี้จะมีการประชุม อกคศ.สพฐ.ชุดใหม่ ซึ่งชุดเก่าจะหมดอายุไป แต่ อกคศ.เขตเก่ายังไม่หมดอายุ เพราะ อกคศ.ใหม่ยังขาดผู้ทรงคุณวุฒิ ถ้าไม่มีปัญหาใด ก็จะทำให้ท่านได้เลือกผู้แทนให้ครบได้ ฝากเลือกคนดี เข้ามา แต่ด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ หากไม่ได้คนดีก็จะเหนื่อยและมีปัญหายุ่งยาก อย่างที่เคย ประสบมา เมื่อได้มาแล้วหน้าที่ของ อกคศ.มีอะไร ท่านต้องศึกษาให้ดี มิใช่ทำแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเรื่อง มีกำหนดไว้ในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน เช่น การย้ายผู้บริหาร ไม่ใช่เป็นอำนาจของ อกคศ.ทั้งหมด มีการกำหนดไว้ว่าใครมีอำนาจในขั้นตอนไหนบ้าง ต้องดูว่าเป็นอำนาจของผู้อำนวยการหรือของสำนักงาน ถ้าเป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตัดสินใจได้เอง แต่ถ้าเป็นอำนาจของสำนักงานจะมีขั้นตอนอีกว่าต้องผ่าน องค์คณะใดของสำนักงาน แต่ละเรื่องต้องผ่านองค์คณะใดก่อน จึงถึงตัวผู้อำนวยการ จึงต้องอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้ อกคศ.ทราบด้วย นอกจากนั้นบางเรื่องให้เห็นชอบอย่างเดียว บางเรื่องพิจารณาอย่างเดียว บางเรื่องพิจารณาให้ความเห็นชอบ มีความแตกต่างกันในแต่ละเรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ขององค์คณะบุคคลถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ ดังนั้นต้องรับผิดชอบหากผิดพลาด ยกเว้นทางวินัย แต่ทางอาญาต้องรับผิดชอบด้วย การย้ายผู้บริหารต้องทำเสร็จภายใน 31 ธันวาคมนี้ หากไม่เสร็จต้องมีเหตุผลว่าเพราะอะไร มิฉะนั้นจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มิฉะนั้นพรุ่งนี้เป็นวันสุดท้ายแต่หากจะประชุมวันที่ 31 ธันวาคมด้วยก็ได้

7. การสอบบรรจุครูผู้ช่วย เป็นอำนาจ อกคศ. แต่หลักเกณฑ์ที่ กคศ.กำหนดใหม่ คือ จะสอบปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นที่ขอมาก็รอสอบพร้อมกันเดือนเมษายน ช่วงนี้ให้โยกย้ายให้เรียบร้อย เตรียมตำแหน่งว่างไว้ การคัดเลือกพนักงานราชการ/ลูกจ้างที่ทำงานครบ 3 ปี ดูเชิงนโยบายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้ใช้อัตราเกษียณและ early 25% ไม่ใช่อัตราอื่น เช่น ตาย/ลาออก/ย้ายตามปกติ จะน้อยกว่า 25% ก็ได้ แต่เกินไม่ได้
การคัดเลือกมีปัญหาเช่นกัน มีหลักเกณฑ์คล้ายกับการสอบแต่ไม่เหมือนกัน จะแจ้งภายหลัง ขอให้ดูให้ชัดเจนก่อน
เขียนโดย Mr.Jo 0 ความคิดเห็น ลิงก์ไปยังบทความนี้ ที่ 1/03/2010

แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546

1.พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้วันใด
ก.1 กรกฏาคม 2546
ข.6 กรกฏาคม 2546
ค.7 กรกฏาคม 2546
ง.8 กรกฏาคม 2546
2. การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือข้อใด
ก.ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสถานศึกษา
ข.ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
ค.ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ง. ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา
ก.พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
ข.พิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา
ค.ประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง.พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการไม่คำนึงถึงข้อใด
ก.คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
ข.ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ
ค.เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ง. คุณภาพงาน
5. บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือข้อใด
ก.อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ
ข.ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
ค.บรรจุแต่งตั้งข้าราชการ
ง.ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
6. ข้อใดคือการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ก.ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ
ข.สำนักงานปลัดกระทรวง
ค.สำนักงานรัฐมนตรี
ง.ถูกทุกข้อ ก และ ข
7. ใครเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา
ก.คณะกรรมการสภาคัดเลือกกันเอง
ข.ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคัดเลือก
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ
8. คณะกรรมการชุดใดที่กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. นี้
ก. คณะกรรมการสภาการศึกษา
ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการการอุดมศึกษา
ง. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
9. ใครทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค.ผู้ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานมอบหมาย
ง.ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
10. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
ก.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข.เลขาธิการรัฐมนตรี
ค.รองเลขาธิการรัฐมนตรี
ง.ข้อ ข และ ค ถูก
11. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก.นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง
ข. ตรวจราชการ
ค. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
ง. ติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจ
12. หน่วยงานระดับใดสามารถมีผู้ตรวจราชการได้
ก. กระทรวงศึกษาธิการ
ข. กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
13. ข้อใด คือบทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตามและประเมินผล ระดับนโยบาย
ข.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตามและประเมินผล นโยบายตามภารกิจ
ค.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
ง.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลตามมติคณะรัฐมนตรี
14. ข้อใด คือบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก.ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา
ข.เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการ จัดการศึกษา
ค.ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ
15. ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาได้หน่วยงานใดจะเป็นผู้จัด
ก.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ง.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
16. หน่วยงานอื่นสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใดได้บ้าง หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้
ก.การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
ข.การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถ พิเศษ
ค.การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
ง.ถูกทุกข้อ
17. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการ
ค. ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. ข้อ ก และ ข
18. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ก.ปลัดกระทรวงศึกษาธิ การ
ข.เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ง. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
19. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้คำนึงถึงสิ่งใดน้อยที่สุด
ก. จำนวนนักเรียน
ข.ปริมาณสถานศึกษา
ค.´จำนวนประชากร
ง. วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่น
20. ใครมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำยินยอมของสภาการศึกษา
ง.คณะรัฐมนตรี
21. ในกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาใครเป็นผู้กำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษาสามารถขยายบริการการศึกษาออกไปในเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
22. ข้อใด คือการจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา
ก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
23. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ระเบียบ
ค. ประกาศกระทรวง
ง. ระเบียบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
24. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศกระทรวง
ค. ระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
ง. ระเบียบที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
25. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามข้อใดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก.โรงเรียน
ข. สถานพัฒนาเด็กเล็ก
ค. ศูนย์การเรียน
ง. ถูกทุกข้อ
26. ผู้แทนจากกลุ่มบุคคลใดไม่ใช่องค์ประกอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้แทนองค์กรเอกชน
ข. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู
ง. ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา
27. บุคคลที่ทำหน้าที่ในการกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา คือข้อใด
ก.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข.คณะกรรมการสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่าปริญญา
ค.คณะกรรมการสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ
28. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา กำหนดไว้ในมาตราใดของ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. มาตรา 38
ข. มาตรา 39
ค. มาตรา 40
ง. มาตรา 41
29. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา
ก.บริหารกิจการของสถานศึกษา
ข.ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ค.อนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถาน ศึกษาตามที่คณะกรรมการสถานศึกษากำหนด
ง.ทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถาน ศึกษาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่
การศึกษา
30. องค์กรบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ก.ค.
ข. ก.ค.ศ.
ค. ก.ม.
ง. อ.ก.ค.ศ. อุดมศึกษา
31. ข้อใด คือบทบาทหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อสถานศึกษาอุดมศึกษา
ก.เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาน ศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาอุดมศึกษา
ข.ประสานงานการจัดการศึกษาระหว่างสถานศึกษาจัดการศึกษาอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
ค.เสนอการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและเลิกสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ
32. การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานทั่วไป กระจายให้กับใคร
ก.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ข.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สถานศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
33. ข้อใดคือการกระจายอำนาจในการบริหารการศึกษา
ก.อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณ
ข.หลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ
ค.การพัฒนาและดำเนินการทางวินัยครูและ บุคลากรทางการศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ
34. การปฏิบัติราชการแทนให้ดำเนินการโดยวิธีใด
ก. การกระจายอำนาจ
ข. การมอบอำนาจ
ค. การแบ่งอำนาจ
ง. การกระจายอำนาจ และการมอบอำนาจ
35. หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบให้กับบุคคลใด
ก.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข.ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค.หัวหน้าส่วนราชการระดับสถานศึกษา
ง.ข้อ ก และ ข
36. บุคคลใดไม่สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นได้
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.เลขาธิการมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ง.ผู้อำนวยการสถานศึกษามอบอำนาจให้คณะกรรมการสถานศึกษา
37. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดได้บ้าง
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในเขตฯ
ค. ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
38. การมอบอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาให้ทำโดยวิธีการใด
ก. ทำเป็นคำสั่ง
ข. ทำเป็นหนังสือ
ค. ทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ง. ถูกทุกข้อ
39. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. การรักษาราชการแทน
ข. การปฏิบัติหน้าที่แทน
ค. การปฏิบัติราชการแทน
ง. การรักษาการในตำแหน่ง
40. การมอบอำนาจให้บุคคลใดที่บุคคลนั้นสามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นต่อไปได้
ก.การมอบอำนาจให้เลขาธิการ
ข.การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา
ง.การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา
41. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอำนาจต่อให้บุคคลใดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจขั้นต้นก่อน
ก.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. บุคคลอื่น
ง. ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดและบุคคลอื่น
42. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้และมีรัฐมนตรีช่วย
หลายคน ใครเป็นผู้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. รมต. ศธ.โดยความเห็นชอบของ ครม.
43. ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหลายคน ใครเป็นผู้แต่งตั้งให้รองฯคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
44. ในกรณีที่ไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา
ก. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ง. ข้อ ข และ ค
45. ให้โอนบรรดา อำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน อัตรากำลัง ข้าราชการ ลูกจ้างและงบประมาณของหน่วยงานใดเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ
ข.กรมสามัญศึกษาและกรมวิชาการ
ค.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อำเภอ
ง.ถูกทุกข้อ
46.ข้าราชการหน่วยงานใด ที่ต้องโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ
ข. กรมวิชาการ
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ง. ถูกทุกข้อ
47. อ.ก.ค.ใด ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ถึงแม้ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้แล้ว
ก. อ.ก.ค. กรมวิชาการ
ข. อ.ก.ค. กรมสามัญศึกษา
ค. อ.ก.ค. กรมอาชีวะศึกษา
ง. อ.ก.ค.สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
48. การกำหนดและการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาตามบทเฉพาะการเป็นอำนาจหน้าที่ของใคร
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. นายกรัฐมนตรี
ค.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
49. ใครมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษา
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำยินยอมของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำ แนะนำของสภาการศึกษาแห่งชาติ
ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำ ยินยอมของสภาการศึกษาแห่งชาติ
50. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ธิการ พ.ศ. 2546 มีกี่หมวดและกี่มาตรา
ก.4 หมวด 90 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
ข.5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 82 มาตรา
ค.9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 78 มาตรา
ง.9 หมวด รวม 140 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
- พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
1.ค 2.ข 3.ค 4.ค 5.ง 6.ง 7.ค 8.ก 9.ก 10.ข 11.ง 12.ง 13.ค 14.ง 15.ก 16.ง 17.ง 18.ข 19.ก 20.ข 21.ค 22.ง 23.ค 24.ค 25.ก 26.ง 27.ง 28.ข 29.ค 30.ค 31.ง 32.ง 33.ง 34.ง 35.ง 36.ง 37.ง 38.ข 39.ก 40.ข 41.ค 42.ข 43.ค 44.ข 45.ง 6.ง 47.ง 48.ง 49.ก 50.ข
ที่มา มะเฟืองหวาน

11 กันยายน 2551
เวลา : 10:25

อิทธพลของตัวเลข

อิทธิพลของตัวเลข ๑ กับการศึกษา
- คณะกรรมการสถานศึกษาผู้แทนศาสนาในกรรมการสถานศึกษา ขนาดเล็ก ๑ คน
- คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ขนาดเล็ก ๑ คน
- คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาจากองค์กรปครองส่วนท้องถิ่น ๑ คน
- ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาโอกาสที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ต้องดำเนินการแจ้งผู้ปกครองทราบล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา ๑ ปี

อิทธิพลของตัวเลข ๒ กับการศึกษา
- การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานที่คือการที่ครูพานักเรียนไปทำกิจกรรมนอกสถานศึกษาตั้งแต่ ๒ คน ขึ้นไป
- ประธานกรรมการในคณะกรรมการพื้นที่การศึกษาดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
- กรรมการที่เป็นพระภิกษุสงฆ์สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่มีขนาดจำนวน ๒ รูป
- พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดองค์กรวิชาชีพครู ๒ องค์กร
- การแต่งตั้งคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี
- พนักงานราชการ มี ๒ ประเภท
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารพนักงงานราชการมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี


อิทธิพลของตัวเลข ๓ กับการศึกษา

- การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานที่มี ๓ ประเภท
- คณะกรรมการตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ยกเว้นประธานและกรรมการโดยตำแหน่งคราวละ ๓ ปี
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินเป็นไปได้ในคราวเดียวกันไม่เกิน ๓ แห่งขึ้นไป
- วัตถุประสงค์ของคุรุสภา มี ๓ ข้อ
- ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีวาระดำรงตำแหน่ง ๓ ปี
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง ๓ ปี
- คณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนคุ้มครองเด็กมีจำนวนไม่เกิน ๓ คน
- ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี ๓ ประเภท
อิทธิพลของตัวเลข ๔ กับการศึกษา
- โทษของนักเรียนนักศึกษาที่กระทำผิดมี ๔ สถาน
- ประธานกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวาระการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการ ๔ ปี
- การจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินจัดทำเป็นแผน ๔ ปี
- การจ้างพนักงานราชการให้ทำสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ ๔ ปี
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
อิทธิพลของตัวเลข ๕ กับการศึกษา
- การจัดสรรงบประมาณแต่ละปีเป็นเงินอุดหนุนสำหรับคนพิการตรามกฏกระทรวงเป็นจำนวนมากกว่านักเรียนทั่วไปแต่ไม่เกิน ๕ เท่า
- คณะกรรมการเทียบโอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวน ไม่เกิน ๕ คน
- คณะกรรมการผ่อนผันเด็กเข้าเรียนมี ๕ คน
- การขยายระยะเวลาไม่ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการกระทำได้โดยการออกคำสั่งขยายเวลานั้น แต่ต้องกำหนดไม่เกินคราวละ ๕ ปี
- ผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ. มีจำนวน ๕ คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ มีจำนวน ๕ คน


อิทธิพลของตัวเลข ๖ กับการศึกษา
- การแบ่งส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการแบ่งได้เป็น ๖ ส่วนราชการ
- การแบ่งสาวนราชการในเขตพื้นที่การศึกษา ๖ กลุ่ม
- กรรมผู้ทรงวุฒิสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่มีจำนวน ๖ คน
- สถานสงเคราะห์เลี้ยงดูและพัฒนาเด็กตั้งแต่ ๖ คนขึ้นไป
- การกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการแบ่งออกเป็น ๖ กลุ่มงาน
- พนักงงานกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษได้รับการปรับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖
- กรรมการ ก.ค.ศ. ที่มาจากการเลือกตั้งผู้แทนข้าราชการครูมี จำนวน ๖ คน
- สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกันที่ตั้งอยู่เดิมจำนวน ๖ กิโลเมตร







อิทธิพลของตัวเลข ๗ กับการศึกษา
- พนักงานราชการผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานถือว่าสัญญาสิ้นสุดลง ส่วนราชการต้องแจ้งให้เจ้าตัวทราบภายในเวลา ๗ วัน
- สถานศึกษาที่นักเรียนขอย้ายโรงเรียนต้องแจ้งโรงเรียนเดิมภายใน ๗ วันนับตั้งแต่วันรับนักเรียนเข้าเรียน
- ผู้ปกครองส่งเด็กเข้า
- การบริหารบ้านเมืองที่ดี มี ๗ ข้อ
- คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารจะต้องส่งเรื่องต่าง ๆ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลพิจารณา
ภายในกี่วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการพิจารณาเสร็จภายใน ๗ วัน
- ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมีประสบการณ์ในสาขาที่แต่งตั้ง ๗ ปี
- การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟูระหว่างสืบเสาะและพิจารณาวิธีการคุ้มครองที่เหมาะสมให้กระทำได้ไม่เกิน ๗ วัน
- การละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาเกินกว่า ๗ วัน ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง
- คณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามีจำนวน ๗ คน

อิทธิพลของตัวเลข ๘ กับการศึกษา
- เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา ๓๒ มี ๘ ประเภท
- ส่วนราชการอาจกำหนดพนักงงานราชการประเภทใดหรือหรือตำแหน่งใดได้รับสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดรวมกันได้แล้ว ๘ รายการ
- สัดส่วนคณะกรรมการและบุคลากรทางการศึกษา ระหว่าง คณะกรรมการโดยตำแหน่ง / คณะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ/ คณะกรรมการผู้แทน เป็น 8 : 9 : 9
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีจำนวน ๘ คน

อิทธิพลของตัวเลข ๙ กับการศึกษา
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีโดยตำแหน่ง มีจำนวน ๙ คน
- คณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศกฏกระทรวงมีจำนวน ๙ คน
- คณะกรรมการสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน ๙ คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีมีจำนวน ๙ คน
- การกระทำความผิดวินัยร้ายแรงของพนักงงานราชการมีจำนวน ๙ ข้อ
- คุณสมบัติเฉพาะกลุ่มงานเทคนิคหากไม่ได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใด เป็นการเฉพาะผู้นั้นจะต้องมีความรู้ความสามารถทักษะในงานที่ต้องปฏิบัติอย่างน้อย ๙ ปี
- ผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. มีจำนวน ๙ คน
- ผู้แทนครูใน ก.ค.ศ. มีจำนวน ๙ คน

อิทธิพลของตัวเลข ๑๐ กับการศึกษา
- ข้าราชการที่ศึกษาภาคนอกเวลาต้องกลับมาปฏิบัติราชการตามแผน ที่ศึกษาไม่น้อยกว่า ๒๔ เดือน ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ต้องชดเชยร้อยละ ๑๐ ของเงินเดือนที่ได้
- ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ถ้ามีการปรับอัตราดังกล่าวเป็นการเพิ่มร้อยละ ๑๐ ของอัตราที่ใช้อยู่
- ในกรณีที่เป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราดังกล่าว หากอัตราหนึ่งอัตราหนึ่งอัตราหนึ่งอัตราใดมีพิเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขอัตราเงินเดือน วิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของอัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ บาท

อิทธิพลของตัวเลข ๑๒ กับการศึกษา
- การกักตัวเด็กไว้สอบถามและทราบข้อมูลอันสงสัยไว้ได้ไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมง
- อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีจำนวน ๑๒ คน (เดิม ๙)

อิทธิพลของตัวเลข ๑๓ กับการศึกษา
- ในโอกาสพิธีสำคัญชักธงชาติตามกำหนดวันสำคัญ ๑๓ วัน
- กรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน ไม่เกิน ๑๓ คน
- คุณสมบัติของผู้ซึ่งจะเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี ๑๓ ข้อ
-
อิทธิพลของตัวเลข ๑๕ กับการศึกษา
- วันหยุดรวมในโอกาสพิธีสำคัญตามวันและเวลาที่กำหนดรวม ๑๕ วัน
- สำหรับการสอบวิชาแรกของตอนเช้าในแต่ละวันผู้ใดเข้าห้องสอบหลังจากลงมือสอบไปแล้ว ๑๕ นาทีจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบในวิชานั้น
- คณะกรรมการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ มีจำนวน ๑๕ คน
- องค์กรชุมชน เป็นองค์กรที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน โดยส่วนรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนโดยส่วนรวมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ คน
- ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสถานศึกษาถ้าเป็นคู่สัญญากับเขตพื้นที่การศึกษาต้องแสดงหลักฐานต่อ ผอ. สพท. ว่าเลิกกิจการใด ๆ ที่เป็นคู่ค้าภายใน ๑๕ วันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง
- คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ๑๕ ข้อ
- ในกรณีที่มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านต้องแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องรับทราบโดยเร็ว และผู้ร้องสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายใน ๑๕ วัน
อิทธิพลของตัวเลข ๑๗ กับการศึกษา
- คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ๑๗ คน
- จำนวนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีจำนวน ๑๗ คน
(เดิม ๑๕ คน เพิ่มผ๔แทนรับใบอนุญาต และครูโรงเรียนเอกชน)
อิทธิพลของตัวเลข ๑๘ กับการศึกษา
- ความหมายของ เด็ก ตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี บริบูรณ์แต่ไม่รวมผู้สมรส
- ผู้ซึ่งได้รับจ้างเป็นพนักงานราชการ ต้องไม่ต่ำกว่า สิบแปดปี
- คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี

อิทธิพลของตัวเลข ๑๙ กับการศึกษา
- คณะกรรมการพนักงานราชการมีจำนวน ๑๙ คน
- คณะติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
มีจำนวน ๑๙ คน
อิทธิพลของตัวเลข ๒๐ กับการศึกษา
- พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ มี ๒๐ มาตรา
- ผู้สอบเสร็จ อยู่ห่างจากห้องสอบห้ามรบกวนผู้ที่ยังสอบอยู่ทั้งนี้ผู้สอบทุกคนจะออกก่อนเวลา ๒๐ นาทีหลังเริ่มสอบวิชานั้นไม่ได้
- คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) มีจำนวน ๒๐ คน
- กรณีเป็นความลับทางราชการที่มีคำสั่งมิใหเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จะเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าได้ครบเมื่อ ๒๐ ปี
- การเปิดผยข้อมูลตามมาตรา ๑๕ (เกี่ยวกับความขัดแย้งเปิดเผยแล้วเสื่อมประสิทธิภาพ , เปิดเผยแล้วเป็นอันตรายต่อบุคคล) จะเปิดเผยได้เมื่อกำหนดครบ ๒๐ ปี
- ในกรณีบุคคลได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบ ๑๘ ปี บริบูรณ์ หากยังคงสภาพต้องได้รับการสงเคราะห์อีกสามารถยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์ได้ไม่เกิน ๒๐ ปี
อิทธิพลของตัวเลข ๒๑ กับการศึกษา

- คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีจำนวน ๒๑ คน
- คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ มีจำนวน ๒๑ คน

อิทธิพลของตัวเลข ๒๓ กับการศึกษา
- คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารมีจำนวน ๒๓ คน
- คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)
จำนวน ๒๓ คน
อิทธิพลของตัวเลข ๒๕ กับการศึกษา
- คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมี ๒๕ คน
- ในกรณีบุคคลได้รับการสงคราะห์มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ หากต้องการยังรักษาสภาพสงเคราะห์อีกสามารถยื่นขอรับการสงเคราะห์ได้แต่ไม่เกิน ๒๐ ปี หากจำเป็นต้องการขยายเวลาเพิ่มให้สามารถทำใด้แต่ไม่เกิน ๒๕ ปี
- สถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้จำนวน ๒๕ ไร่
อิทธิพลของตัวเลข ๒๗ กับการศึกษา
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวนไม่เกิน ๒๗ คน
อิทธิพลของตัวเลข ๒๘ กับการศึกษา
- คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรการศึกษามีจำนวน ๒๘ คน(เดิม ๒๑ คน)
- คณะกรรมการอุดมศึกษาไม่เกิน ๒๘ คน
อิทธิพลของตัวเลข ๓๐ กับการศึกษา
- การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานที่ต้องมีครูเป็นผู้ควบคุมดูแลในการเดินทางโดยครูเป็นผู้ควบคุมดูแลในการเดินทางโดยครูคนหนึ่งต่อนักเรียนหรือนักศึกษาไม่เกิน ๓๐ คน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาการศึกษา มี จำนวน ๓๐ คน
- เมื่อมีเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับมาอาศัยอยู่ด้วยต้องแจ้ง สพท. หรืออปท. ทราบภายในเวลา หนึ่งเดือน
- เมื่อมีบุคคลร้องต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลคณะกรรมพิจารณาให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น
- ในกรณีหน่วยงานของรัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ถูกต้องตามคำร้องขอให้ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ อายุไม่ต่ำว่า ๓๐ ปีบริบูรณ์
อิทธิพลของตัวเลข ๓๒ กับการศึกษา
- คณะกรรมการอาชีวศึกษาไม่เกิน ๓๒ คน



อิทธิพลของตัวเลข ๓๕ กับการศึกษา
- ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอายุไม่ต่ำกว่า สามสิบห้าปีบริบูรณ์

อิทธิพลของตัวเลข ๓๙ กับการศึกษา
- คณะกรรมการคุรุสภา มีจำนวน ๓๙ คน
อิทธิพลของตัวเลข ๔๑ กับการศึกษา
- ศูนย์ประสานงานเขตมัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน ๔๑ ศูนย์
อิทธิพลของตัวเลข ๔๕ กับการศึกษา
- ข้าราชการที่จะไปศึกษาต่อภาคปกติต้องมีอายุไม่เกิน ๔๕ ปี





อิทธิพลของตัวเลข ๕๙ กับการศึกษา
- คณะกรรมการสภาการศึกษา จำนวนไม่เกิน ๕๙ คน
อิทธิพลของตัวเลข ๖๐ กับการศึกษา

สรุปย่อกฏหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

ม.1 – เรียกว่า “พรบ.กศช.พ.ศ.2542”
ม.2 – ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศฯ
ม.3 – ให้ใช้พรบ.นี้แทน
ม.4 - ในพรบ.นี้ให้ความหมาย “คำ”
ม.5 – ให้รมต.กศธ.รักษาการเพื่อปฏิบัติตาม
หมวด 1 ทั่วไป (ความมุ่งหมาย) ( ม.6 – 9 )
ม.6 – ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ม.7 – กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึก
ม.8 – การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก (1+2+3) “ตลอด+ร่วม+ต่อเนื่อง”
ม.9 – หลักในการจัดระบบ/โครงสร้าง/กระบวนการ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่(ม. 10-14 )
ม.10 – รัฐต้องจัดการศึกษาฯ ไม่น้อยกว่า 12 ปี ต้องจัด
ให้ทั่วถึงโดยมิเก็บค่าใช้จ่าย
ม.11 – บิดามารดา/ปกครอง หน้าที่จัดบุตรให้
ได้รับการศึกษาภาคบังคับ (ม.17.)
ม.12 – ให้บุคคล/ครอบครัว/องค์กร ฯลฯ จัดกศษ.
ม.13 – มีสิทธิประโยชน์รับ/หนุน/อุด/ภาษี
ม.14 – มีสิทธิประโยชน์แก่กรณี(ครัว)หนุนอุดภาษี
หมวด 3 ระบบการศึกษา ( ม.15 – 21 )
ม.15 – จัดการศึกษา 3 รูปแบบคือ ใน+นอก+อัธยาศัย
ม.16 – ในระบบ 2 ดับ/การศึกษาขั้นพื้นฐาน , อุดมศึกษา
ม.17 – การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี/ย่าง7ถึงย่าง16
ม.18 – การศึกษาปฐมวัย และกพฐ.
ม.19 – การศึกษาอุดมศึกษา
ม.20 – การศึกษาอาชีวศึกษา
ม.21 – กระทรวง/ทบวง/กรม ศึกษาเฉพาะทาง/ชำนาญ
หมวด 4 แนวทางจัดการศึกษา ( ม. 23 – 30 )
ม.22 – ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ม.23 – การศึกษา/ใน+นอก+อัธยาศัย/เน้นรู้/ธรรม
ม.24 – จัดการกระบวนการเรียนรู้/เนื้อ/ฝึกทักษะ
ม.25 – แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
ม.26 – สถานศึกษาประเมินผู้เรียน
ม.27 – ให้ คกก.กพฐ. กำหนดหลักสูตรแกนกลาง
ม.28 – หลักสูตรระดับต่างๆ เหมาะสม
ม.29 – ให้สถานศึกษาร่วมชุมชนเข้มแข็ง
ม.30 – ให้สถานศึกษา/พัฒนา/เรียนพิเศษ/สอน
หมวด 5 การบริหารและจัดการ ( ม. 31 – 46 )
ม.31 – กระทรวงส่งเสริมนโยบายแผนกำกับ
ม.32 – ระเบียบ กศธ. มี 4 องค์กร
ม.33 – สภาการศึกษา/พิจารนาเสนอแผน/แนะนำ
ม.34 – คกก. กพฐ/พิจารนาเสนอแนะ
ม.35 – องค์ประกอบ ม.34 เป็นกรรรมการโดยแหน่ง
ม.36 – สถานศึกษาของรัฐ/จัดระดับปริญญา
ม.37 – การบริหารเขต พท./ปริมาณประชากร/วัฒ
ม.38 – แต่ละเขดมีคกก./ยุบรวมเลิกรร.
ม.39 – กระทรวงกระจายอำนาจ ,วิมาณคลไป
ม.40 – มีคกก.สถ.ขพฐ.ผอ.รร. เลขาฯ
ม.41 – ให้อปท.จัดศึกษาตามความพร้อม
ม.42 – ให้กระทรวงกำหนดเกณฑ์ความพร้อม
ม.43 – การบริหารของเอกชนเป็นอิสระ
ม.44 – ให้ สถ. เอกชนเป็นนิติบุคคลและมีคกก.
ม.45 – ให้สถ.เอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับ/อิสระ
ม.46 – รัฐต้องให้เงินอุดหนุน/ลดย่อน/ภาษี/ส่งเสริม/หนุนด้านการมีมาตรฐาน
หมวด 6 มาตรฐานและการประกัน ( ม.47 – 51 )
ม.47 – ระบบประกัน/ภายใน/ภายนอก
ม.48 – หน่วยงานต้นสังกัด/สถานศึกษา/SAR
- การประกันภายใน/SAR
ม.49 – ให้มี สมศ.
ม.50 – สถานศึกษาเตรียมความพร้อม/เอกสาร
ม.51 – ประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐาน
- สมศ.จัดทำรายงานสพท.
- รร.ไม่แก้สมศ.รายงานสพฐ.
หมวด 7 ครูคณาจารย์และบคศ. (ม.52 – 57)
ม.52 – ให้กระทรวงส่งเสริมผลิตพัฒนา
ม.53 – มีองค์กรวิชาชีพครู เกิดพรบ.สภาครู 2546
ม.54 – มีองค์กรกลางบริหารครู
- เกิดพรบ.ระเบียบครู
ม.55 – มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนค่าตอบแทน
ม.56 - การผลิตและพัฒนาคณาจารย์+บกศ.
ม.57 – หน่วยงานระดมทรัพยากรบุคคล ชุมชนมีส่วนร่วม
หมวด 8 ทรัพยากรลงทุนเพื่อกศษ. ( ม.58 – 62 )
ม.58 – ให้ระดมทรัพยากรและการลงทุน
ม.59 – สถานศึกษาของรัฐเป็นนิติบุคล
ม.60 – ให้รัฐจัดสรรงบประมาณฯ ใน รร.
ม.61 – ให้รัฐจัดสรรงบประมาณฯ ให้ครอบครัว
ม.62 – ให้มีระบบตรวจสอบติดตามประเมินผล
- ประสิทธิภาพและประสิทธิผลใช้จ่าย
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ( ม.63-68)
ม.63 – รัฐจัดสรรคลื่นความถี่/สื่อตัวนำ
ม.64 – ส่งเสริมผลิตแบบเรียน แข่งโดยเสรี
ม.65 – พัฒนาบุคลากรทำผู้ผลิตและผู้ใช้
ม.66 – ผู้เรียนมีสิทธิพัฒนาความสามารถฯ
ม.67 – รัฐส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
ม.68 - ระดมทุนจัดตั้งกองทุนพัฒนา
ม.69 – จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เสนอแนะ
บทเฉพาะการ (70-78)
ม.70 – ใช้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่
ม.71 – ไม่เกิน 3 ปี
ม.72 – ภายใน 6 ปี สมศ. ประเมินทุกแห่ง
ม.73 – ในหมวด 5 , หมวด 7
ม.74 – จัดตั้งกระทรวง
ม.75 – จัดตั้ง สำนักปฏิรูปการศึกษา
ม.76 – มี คกก.ปฏิรูป 9 คน
ม.77 – ให้มี คกก.ปฏิรูป 9 คน
ม.78 – นายกรักษาการ

หลักธรรมในการบริหาร

หลักธรรมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ การประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีอาจใช้ ได้แก่ สังคหวัตถุธรรม ๔ อิทธิบาทธรรม ๔ ไตรสิกขา สัปปุริสธรรม ฆราวาสธรรม ๗ และหลักทศพิธราชธรรม ๑. สังคหวัตถุธรรม ๔ ได้แก่ จาคะ ปิยะวาจา อัตถจริยาและสมานัตตา ๑.๑ จาคะหรือทาน ได้แก่ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ โดยไม่หวังผลตอบแทน ๑.๒ ปิยวาจา ได้แก่ การใช้ถ้อยคำที่สุภาพเป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ได้ยินได้ฟัง เป็นการพูดที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำด่าพูดเสียดสีหรือพูดเฟ้อเจ้อ ๑.๓ อัตถจริยา ได้แก่ การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีมีประโยชน์แก่กันและกัน เลือกทำแต่สิ่งที่ดีมีคุณค่าให้แก่เพื่อน คนรู้จัก และคนในสังคมไปจนถึงประเทศชาติ ความเป็นมนุษย์ต้องรู้จักช่วยเหลือคนอื่น รู้จักแบ่งปัน รู้จักการให้ รวมไปถึงการเสียสละต่างๆ เป็นต้น ๑.๔ สมานัตตตา ได้แก่ ความเสมอต้นเสมอปลายสมกับอัตถภาพของบุคคล คงเส้นคงวา ปัจจุบันปฏิบัติอย่างไรแม้ฐานะสังคมจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นก็ยังคงแสดงออกในสิ่งดีงามเช่นเดิม เช่นความถ่อมตัว ความสุภาพ การให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น
๒. อิทธิบาทธรรม ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ดังจะอธิบายต่อไปนี้
๒.๑ ฉันทะได้แก่ ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำอยู่บุคคลควรรักงานรักเพื่อนร่วมงาน รักหมู่คณะ และสถาบัน เมื่อบุคคลมีความพอใจมีความรักในสิ่งที่ตนทำ สิ่งต่างๆที่ตนแสดงพฤติกรรมออกมาก็จะดีด้วย มนุษย์ควรให้ความรักแก่กัน ตั้งแต่รักกันภายในครอบครัว รักกันในกลุ่มงานและสังคม
๒.๒ วิริยะ ได้แก่ ความเพียรพยายามการมีความขยัน อดทนมีมานะ บากบั่นจนประสบผลสำเร็จ ดังสุภาษิตที่ว่า มีความพยายามที่ไหนที่นั่นย่อมประสบความสำเร็จ เช่น ต้องการเรียนเก่ง นักศึกษาก็ต้องหมั่นท่องอ่านทำรายงาน ทำแบบฝึกหัด รับผิดชอบต่อการเรียนมีวินัย ความพยายามจะทำให้นักศึกษาสอบได้ดี
๒.๓ จิตตะ ได้แก่ ความตั้งใจ การฝักใฝ่อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงานเอาใจใส่ต่องานที่ทำ มีความตั้งใจว่าจะทำทุกอย่างให้ดี ทำให้ได้ มีเจตนาแน่วแน่ทุกอย่างย่อมสำเร็จ
๒.๔ วิมังสา ได้แก่ ความสุขุม รอบคอบพินิจพิจารณาสิ่งที่ทำด้วยปัญญา มีการตรวจตราอยู่สม่ำเสมอ เหมือนที่กล่าวว่ามีความฉลาดอย่าขาดเฉลียว หมายถึงการทำการใดๆ ให้รอบคอบมีความละเอียดลออในงานที่เราได้กระทำ
๓. ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
๓.๑ ศีล หมายถึง ความเป็นปกติที่บุคคลพึงกระทำ โดยการทำกายและใจให้บริสุทธิ์ไม่โกรธ เกลียด อิจฉา อาฆาตเคียดแค้นหรือคิดทำร้าย เบียดเบียนผู้ใด การไม่ลักทรัพย์หรือการหยิบเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้มาเป็นของตน การไม่ล่วงละเมิดครอบครัวของคนอื่น การไม่โกหก พูดเอาดีเข้าข้างตน พูดจาทำร้ายคนอื่นรวมไปถึงการพูดจาสอเสียดต่างๆ และการเสพอบายมุขจนเป็นเหตุให้ครองสติไม่ได้ทำร้ายตนเองและครอบครัวจนเดือดร้อนกันไปทั่วเพราะตัวเราเป็นสาเหตุ ถ้าบุคคลมีศีลประจำใจ การอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะปกติสุข
๓.๒ สมาธิ หมายถึง การสำรวมจิตใจให้แน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่สับสน สามารถรวมจิตให้เข้ากับกายเป็นหนึ่งได้ ทำให้กำหนดรู้ว่าขณะนี้เราคือใครมีจุดมุ่งหมายอย่างไร รู้ความเป็นชีวิตและรู้เท่าทันเหตุการณ์ รวมไปถึงการฝึกจนรู้และเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและมีสติมีสมาธิที่จะทำกิจการใดเพื่อยังประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
๓.๓ ปัญญา หมายถึง การรู้จักใคร่ครวญ การรู้จักไตร่ตรองทบทวนด้วยความสงบ ด้วยใจเป็นกลาง ถึงสัจธรรมที่เรียกว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดาโลก และเมื่อชีวิตเกิดขึ้นมาแล้วจงทำดีเพื่อเป็นคุณงามติดตัวและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น
๔. สัปปุริสธรรม ๗ ได้แก่ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณรู้จักกาลเวลารู้จักสังคม และรู้จักบุคคล
๔.๑ รู้จักเหตุ หมายถึง เข้าใจสาเหตุว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะอะไรไตร่ตรอง ลำดับขั้นตอนได้
๔.๒ รู้จักผล หมายถึง รู้ถึงสิ่งที่จะตามมาเมื่อมีปัญหานั้นเกิดขึ้นจะเป็นผลดีผลเสียอย่างไร
๔.๓ รู้จักตน หมายถึง การที่ตัวเราเข้าใจตนเอง เข้าใจความต้องการของตนเอง
๔.๔ รู้จักประมาณ หมายถึง รู้ว่าเขาทำอะไร เกิดอะไรขึ้น จะเกิดอะไรต่อไป จะรู้จักยับยั้ง ถ้าเห็นว่าผลตามมาจะเสียหาย
๔.๕ รู้จักกาลเวลา หมายถึง รู้จักคุณค่าของเวลาว่าเวลาไหน ควรทำอะไรมีแผนในการทำงาน
๔.๖ รู้จักสังคม หมายถึง เข้าใจสภาพสังคม โครงสร้าง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ควรตัดสินใจทำอะไร อย่างไร เมื่อใด โดยใคร ๔.๗ รู้จักบุคคล หมายถึง เข้าใจคนที่เราเกี่ยวข้องด้วยว่า มีบุคลิกภาพ นิสัย ทัศนคติ ความเชื่อ เป็นต้นอย่างไร ควรติดต่อสัมพันธ์อย่างไร
๕. ฆราวาสธรรม ๗
๕.๑ ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อถือเลื่อมใสในสิ่งที่ควรเชื่อถือด้วยเหตุด้วยผล
๕.๒ หิริ หมายถึง ความละอายต่อความไม่ดี ความผิด บาป
๕.๓ โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลลัพธ์จากการกระทำผิด
๕.๔ วิริยะ หมายถึง ความพากเพียรพยายาม ขยันทำความดี
๕.๕ พาหุสัจจะ หมายถึง ความรอบรู้ในหลักแห่งความดี ความถูกต้อง เหมาะสม
๕.๖ สติ หมายถึง ระลึก ยับยั้งชั่งใจ ตระหนักดีว่ากำลังทำอะไร ผลอะไรจะตามมา
๕.๗ ปัญญา หมายถึง ความเฉลียวฉลาด ความเข้าใจสิ่งต่างๆ และแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง เหมาะสม
๖. หลัก ทศพิธราชธรรม มี ๑๐ ข้อดังนี้คือ
๖.๑ ทาน หมายถึง การให้สงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้อื่น อภัยผู้หลงผิด
๖.๒ ศีล หมายถึง รักษากาย วาจา ใจ ให้มั่นคงสงบ
๖.๓ บริจาค หมายถึง เสียสละประโยชน์ และความสุขส่วนตน
๖.๔ อาชชะวัง หมายถึง แสดงความซื่อสัตย์ จริงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
๖.๕ ตะมัง หมายถึง การเพียรพยายามให้ลุล่วง
๖.๖ มัททะวัง หมายถึง แสดงความสุภาพอ่อนโยน ลุมุนละม่อม
๖.๗ อัตโกธัง หมายถึง ความไม่โกรธพยาบาทผู้ใด
๖.๘ อวิหิงสัง หมายถึง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๖.๙ ขันติ หมายถึง อดทนต่อสภาพการณ์ต่าง ๆ
๖.๑๐ อวิโรธนัง หมายถึง การปฏิบัติไม่เบี่ยงเบนจากทำนองคลองธรรม มีความยุติธรรม