วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อำเภอส่องดาว

ส่องดาว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอส่องดาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดิน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดินและอำเภอวาริชภูมิ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอและอำเภอไชยวาน (จังหวัดอุดรธานี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดิน

ความดันในของเหลว

สรุปเนื้อหา
เรื่องสมบัติเชิงกลของสาร (ของเหลว)
1. ความดัน (Pressure)
วัตถุที่เป็นของไหล (Fluid) จะมีความดันซึ่งเกิดจากการที่โมเลกุลของของไหลชนกันเองหรือพุ่งเข้าชนผนังของภาชนะ เช่น เมื่อเราอัดแก๊สลงไปในลูกโป่ง ก็จะมีความดันของแก๊สดันให้ลูกโป่งพองขึ้น โดยสมการของความดัน คือ
หน่วย (N/m2)
เมื่อ P คือ ความดัน, F คือ แรงที่กระทำในแนวตั้งฉากต่อพื้นที่ A ที่รองรับแรง และ เนื่องจากแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ดังนั้น P จึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ด้วยเช่นกัน
1.1 ความดันและความลึกในของไหลที่อยู่นิ่ง (Pressure and Depth in a Static Fluid)
เมื่อเราดำน้ำลงไปยิ่งลึกเท่าไหร่ จะยิ่งรู้สึกว่าความดันที่กระทำต่อตัวเรามีมากขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่าความดันมีความสัมพันธ์กับความลึก ซึ่งเป็นไปตามสมการ
หน่วย (N/m2)
คือ ความหนาแน่นของของไหล, g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก, h คือ ระดับความลึก นอกจากนี้ถ้าเป็นการเปรียบเทียบความดันระหว่าง 2 จุดที่อยู่ห่างกันในแนวดิ่ง (ห่างกันเป็นความลึก = h) จะได้ว่าความดันระหว่าง 2 จุดดังกล่าว ต่างกันอยู่เท่ากับ ดังสมการ

หรือ
เมื่อ P2 คือ ความดันที่จุดที่ 2 ซึ่งอยู่ลึกกว่าจุดที่ 1 เป็นระยะ h และ P1 คือ ความดันของจุดที่ 1
1.2 เครื่องมือวัดความดัน (Pressure Gauges)
เครื่องมือวัดความดันอย่างง่าย ๆ ซึ่งใช้ปรอทวัดความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure) เรียกว่า บารอมิเตอร์ (barometer) ดังแสดงในรูปที่ 1 อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีหลอดปลายปิดข้างหนึ่ง เติมปรอทให้เต็มแล้วกลับหลอดให้ด้านปลายเปิดจุ่มลงในอ่างที่มีปรอท ปรอทจะไหลลงไปจากหลอดส่วนหนึ่ง แต่จะมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังคงค้างอยู่ โดยความดัน P1 ที่ด้านบนของหลอดจะมีค่าประมาณ 0 และเราจะได้ว่าความดันที่จุด A เนื่องจากความสูงของปรอทในหลอด จะ เท่ากับความดันที่จุด B ซึ่งเป็นความดันบรรยากาศ ดังสมการ